โลโก้เว็บไซต์ คณะทำงานโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า เกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นนักศึกษาในหลักสูตรเกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ผลิตและส่งออกมะม่วงในพื้นที่จังหวัดพิจิตร | สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คณะทำงานโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า เกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นนักศึกษาในหลักสูตรเกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ผลิตและส่งออกมะม่วงในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 20 มีนาคม 2563 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 5021 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2563 ผศ.นพดล ตรีรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา พิษณุโลก พร้อมด้วย ดร.โสภณา สำราญ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก นางสุทินา พึ่งทอง ผู้อำนวยการกองการศึกษา มทร. ล้านนา พิษณุโลก นายสุริยะ พิจารณ์ นักวิชาการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา และ ดร.ยรรยง เฉลิมแสน อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก หัวหน้าโครงการฯ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ของผู้เรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรเกษตรอุตสาหกรรม(Non-degree) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร กลุ่มการผลิตและส่งออกมะม่วง ในพื้นที่ ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก และ ต.หนองปลาไหล อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร  เพื่อประเมินศักยภาพ ความก้าวหน้ากิจกรรมต่างๆที่ผ่านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาภายในห้องเรียน  และรับฟังปัญหาให้คำแนะนำทางด้านวิชาการอันจะทำให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการประสบผลสัมฤธิ์ตามเป้าหมาย ผ่านหลักเกณฑ์ตามตัวชี้วัดของหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เกษตรอุตสาหกรรม มทร.ล้านนา  และสามารถบูรณาการความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดภายในประเทศและต่างประเทศต่อไป
    สำหรับโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ในส่วนของ มทร.ล้านนา ดำเนินโครงการในสองรูปแบบได้แก่แบบมีปริญญา (degree) และแบบไม่มีใบปริญญา (Non-degree) เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะและ ศักยภาพสูง สำหรับการทำงานใน  อุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve มุ่งสร้างและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติด้านเกษตรอุตสาหกรรม ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะปฏิบัติเฉพาะทางที่สามารถนำไปพัฒนาด้านการเกษตรอุตสาหกรรมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) และผลิตกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ การบริหารจัดการและบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

  ผู้ที่สนในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรเกษตรอุตสาหกรรม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา โทร.053-921444 ต่อ 1506 (ในวันเวลาราชการ)







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา