โลโก้เว็บไซต์ คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T  พื้นที่ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง ผ่านระบบประชุมออนไลน์ Microsoft Teams  | สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T พื้นที่ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง ผ่านระบบประชุมออนไลน์ Microsoft Teams

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 3 พฤศจิกายน 2564 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 4457 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T พื้นที่ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่  ผ่านระบบประชุมออนไลน์ Microsoft Teams  โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร วิทยาคุณ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เป็นประธานในการตรวจติดตามและประเมินผล พร้อมด้วยคณะกรรมการจากตัวแทนแต่ละคณะฯได้แก่ อาจารย์ณัฐวุฒิ  สังข์ทอง อาจารย์นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล ดร.อัมพิกา ราชคม จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาจารย์เกิดศิริ ชมภูกาวิน และอาจารย์อำพร กันทา จากคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ นายวธัญญู วรรณพรหม จากวิศวกรรมศาสตร์ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการให้ตอบสนองเป้าประสงค์ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ

            โดยพื้นที่ พื้นที่ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ประยงค์  ใสนวน โดยดำเนินการพัฒนาผ่านการหารือร่วมกันของภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและกลุ่มประชาชนในพื้นที่ ผ่านเทศบาลตำบลหนองแก๋ว มีความต้องการในการพัฒนาสามด้านหลักคือ การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน และสร้างต้นแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน และสร้างต้นแบบการยกระดับคุณภาพมาตรฐานโรงแรม และการบริการ การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน และสร้างต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยการให้มหาวิทยาลัยเป็น System indicator ทำหน้าที่ดูแลด้านการศึกษาการพัฒนาการวิจัยต่อยอด และการเป็นที่ปรึกษา ให้กับตำบลซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงการเข้าไปพัฒนาเพียงระยะสั้น เกิดการมีส่วนร่วมของตำบลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ การท่องเที่ยว และการตลาดของชุมชนที่เป็นต้นแบบซึ่งจะสามารถนำไปขยายผลในการพัฒนาต่อยอดในผลิตภัณฑ์อื่นผ่านศูนย์กลางข้อมูล และศูนย์เรียนรู้ประจำตำบล เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน Community Data ที่จะสามารถนำไปสู่การสร้างเป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นปัจจุบันซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการพัฒนาในอนาคต ได้อย่างยั่งยืน







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา