โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พร้อมร่วมพัฒนาจังหวัดเชียงราย หารือผู้ว่าเชียงราย ดึงศักยภาพอาจารย์  นำองค์ความรู้ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นสถาบันการศึกษาเคียงข้างสังคม  | สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา พร้อมร่วมพัฒนาจังหวัดเชียงราย หารือผู้ว่าเชียงราย ดึงศักยภาพอาจารย์ นำองค์ความรู้ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นสถาบันการศึกษาเคียงข้างสังคม

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 13 ธันวาคม 2564 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 5426 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

           วันที่ 13 ธันวาคม 2564  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เดินทางเข้าเยี่ยมคารวะ นายภาสกร บุญญลักษม์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  เพื่อแนะนำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งหารือในการเป็นส่วนสนับสนุนงานด้านยุทธศาสตร์ของจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสถาบันการศึกษาที่มีพื้นที่ครอบคลุม 6 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน มีการจัดการศึกษาในหลากหลายศาสตร์ และที่สำคัญ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษา และคณาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ ที่พร้อมร่วมเป็นกำลังสำคัญ ในการสนับสนับสนุน ขับเคลื่อนพัฒนาจังหวัดเชียงราย ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์จังหวัด ตามเป้าประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ที่มุ่งยกระดับพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาของจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ (Creative LANNA)  ซึ่งปัจจุบัน ทางมหาวิทยาลัยได้มีการวางแผน เตรียมความพร้อมทั้งด้านวิชาการ เทคโนโลยี และบุคลากร ในการบูรณาการความรู้ ให้เกิดการเข้าไปเติมเต็มของการพัฒนา เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีและเป็นไปตามเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาการเข้าไปร่วมแก้ปัญหาวิกฤติหมอกควันไฟของจังหวัด ซึ่งเป็นวิกฤติปัญหาระดับชาติ ที่ทางมหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญ และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของการแก้ปัญหา เสมอมา ซึ่ง มทร.ล้านนา มีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้ เฉพาะด้าน ที่พร้อมให้การช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหา"

        รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวต่ออีกว่า " ทั้งนี้การเข้าไปช่วยเหลือ ร่วมพัฒนาจังหวัดด้วยฐานองค์ความรู้ จากงานวิชาการ และความเชี่ยวชาญของบุคลากร รวมถึงการให้นักศึกษา ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา นั้น เป็นเป้าหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ที่ต้องการ สร้างคน สร้างงาน สร้าง(พัฒนา)สังคม ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน สอดรับกับการเป็นมหาวิทยาลัย นักปฏิบัติมืออาชีพ ที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เป็นฐาน ในการช่วยเหลือ สร้างสรรค์สังคม สมกับปณิธานแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอันมิ่งมงคลแห่งพระราชา ที่มุ่งพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน สืบไป”







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา