โลโก้เว็บไซต์ ทีม สวพ. ลงพื้นที่ร่วมกับกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ประชุมสร้างความเข้าใจคณาจารย์ นักวิจัย ณ มทร.ล้านนา ลำปาง-สวก-ตาก-พิษณุโลก | สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ทีม สวพ. ลงพื้นที่ร่วมกับกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ประชุมสร้างความเข้าใจคณาจารย์ นักวิจัย ณ มทร.ล้านนา ลำปาง-สวก-ตาก-พิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 12 มกราคม 2567 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 2659 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 9 - 11 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจักร์ เมืองใจ ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและผู้อำนวยการแผนงานใต้ร่มพระบารมี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิสูตร อาสนวิจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ดร.รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นายนริศ กำแพงแก้ว ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยบุคลากรกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ศุนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ลงพื้นที่จัดประชุมร้างความเข้าใจ และสร้างกลไกการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผล เพืื่อยกระดับผลงานให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอก ภายใต้โครงการขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องมือ และสิ่งประดิษฐ์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย และงานบริการวิชาการที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่ และสร้างความเข้าใจการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัด กรอบงบประมาณของกลุ่มใต้ร่มพระบารมี ประจำปีงบประมาณ 2567 การพัฒนานาเทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropiate Technology) และการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และการยกระดับสร้างมาตรฐานให้แก่ผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย งบประมาณโครงการกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ประจำปี 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ตาก พิษณุโลก และสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร

สถาบันวิจัยและพัฒนา นำเสนอแนวคิดและการทำงานในมิติด้านบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน โดยสนับสนุนให้คณะอาจารย์ได้นำเอาองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่เข้มแข็งของแต่ละเขตพื้นที่ มาร่วมพัฒนางานที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ได้อย่างเข็มแข็งผ่านกลไก การทำงานที่มีเครือข่ายภาคีในพื้นที่มากขึ้น และพัฒนายกระดับรูปแบบของโครงงาน ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ให้สู่งานวิจัยที่ดีตอบโจทย์พื้นที่ ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน" ตลอดจนมิติการพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรสายสนับสนุน ผ่านการยกระดับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R (Routine to Research)


ภาพ/ข่าว: ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสูตร อาสนวิจิตร







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา