โลโก้เว็บไซต์ สวพ.มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหาวิทยาลัยเครือข่ายก่อตั้งและมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่ | สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สวพ.มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหาวิทยาลัยเครือข่ายก่อตั้งและมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 8 กรกฎาคม 2567 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 1647 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

มหาวิทยาลัยเครือข่ายก่อตั้งและมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่
ภายใต้การดำเนินงานกิจกรรมบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ครั้งที่ 1)

ระหว่างวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2567
ณ ห้องประชุม E4A-518 อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

******************************

วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ รองผู้อำนวยการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น รองผู้อำนวยการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสูตร อาสนวิจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ดร.รัตนพล พนมวัน ณ​ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ดร.ศิริขวัญ​ ปัญญาเรียน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เข้าร่วม "กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหาวิทยาลัยเครือข่ายก่อตั้งและมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่. ภายใต้การดำเนินงานกิจกรรมบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ครั้งที่ 1) ณ ห้องประชุม E4A-518 อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งแลได้รับเกียรติจาก ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ ดร.ชลิดา ธนินกุลภรณ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ให้การต้อนรับ และแนะนำผู้บริหาร ทีมงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

โดยกิจกรรมสร้างเครือข่ายวิทยาศาสตร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล้านนา เกิดความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้าน :
1. บทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและการพัฒนาระบบนิเวศน์นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนภารกิจของอุทยานฯ
2. การผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ด้วยแนวคิดการจัดตั้ง Holding Company
3. กลไกการขับเคลื่อนอุทยานวิทยาศาสตร์ด้วยผลงานทรัพย์สินทางปัญญา
4. กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจของอุทยานวิทยาศาสตร์ หาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
5. การบริหารจัดการโรงงานต้นแบบเครื่องสำอาง ภายใต้อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
6. เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา