โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมเป็นคณะทำงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นเทศบาลนครเชียงใหม่คาร์บอนต่ำ  | สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ร่วมเป็นคณะทำงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นเทศบาลนครเชียงใหม่คาร์บอนต่ำ

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 6 สิงหาคม 2567 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 696 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  ในนามคณะทำงานโครงการ “การพัฒนานโยบายและมาตรการส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นเทศบาลนครเชียงใหม่คาร์บอนต่ำ” พร้อมคณะเข้าศึกษาดูงาน การบริหารจัดการด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)  รวมถึงการส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 29- 31 กรกฎาคม 2567 โดยโครงการ “การพัฒนานโยบายและมาตรการส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นเทศบาลนครเชียงใหม่คาร์บอนต่ำ”  เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการคมนาคมขนส่ง รวมถึงรูปแบบและการดำเนินงานด้านการบริการรถสาธารณะที่มีประสิทธิภาพปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปปรับใช้กับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งหมด 8 แห่ง จากการศึกษาดูงานจึงได้ข้อสรุปในการบริหารจัดการ การให้บริการรถสาธารณะแก่ประชาชนรวมถึงแนวทางการบริหารจัดการองค์กร กำลังคนและวิธีการดูแลทรัพยากร รถเมล์ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ตลอดจนการบริหารจัดการซ่อมบำรุง ซึ่งใช้หน่วยงานภายนอก (Outsource) ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ในการซ่อมบำรุงทั้งในส่วนโครงสร้างของรถ และเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่  นอกจากนี้ ยังได้รับทราบถึงแผนการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้าง องค์กร การพัฒนากำลังคน การพัฒนาระบบ เทคโนโลยีและอื่นๆรวมถึงรูปแบบการให้บริการที่มีคุณภาพ และสามารถที่จะลดการขาดทุนหรือเพิ่มกำไรให้กับองค์กร เช่นการใช้บัตรสวัสดิการ หรือการใช้ตั๋วร่วม กับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบราง รถไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้าและการจัดตั้งกองทุนรถขนส่งมวลชนสาธารณะที่จะชดเชยค่าบริหารจัดการ ให้กับผู้ประกอบการภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่ให้บริการที่มีคุณภาพ แต่ยังประสบปัญหาการขาดทุน อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เช่น เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สถานีอัดประจุพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ แก๊ส NGV และสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้หรือการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิตอล สารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการ

 

 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา